เชื่อราในช่องคลอด ภัยร้ายของคุณผู้หญิง [สาเหตุ+อาการ+วิธีป้องกัน]


          เกิดเป็นมนุษย์นี่แสนลำบาก! หลายโรครุมเร้าเหลือเกิน ยิ่งเป็นผู้หญิงยิ่งแล้วใหญ่ โรคหลายๆโรคมันค่อยๆมาแบบไม่แสดงอาการ พอผ่านไปสักพักกลับเป็นหนักขึ้น วันนี้ GangBeauty เลยขอมาให้ความรู้อีก 1 โรค สำหรับคุณผู้หญิงที่ค่อนข้างเป็นกันเยอะ นั้นก็คือ "ภาวะเชื้อราในช่องคลอด" สาเหตุ อาการ แล้ววิธีป้องกันเป็นยังไงไปดูเลยจ้าา

          เชื้อราในช่องคลอด หรือ (Vaginal Candidiasis) เกิดจากการติดเชื้อราภายในช่องคลอดหรือบริเวณปากช่องคลอด ทำให้เกิดการระคายเคืองและอาการคันอย่างรุนแรง

[สาเหตุของโรค]

          เกิดจากการเพิ่มจำนวนเชื้อรามากกว่าปกติภายในช่องคลอดจนทำให้สภาพภายในช่องคลอดเสียสมดุล โดยปกติเชื้อราเหล่านี้มักอาศัยอยู่ตามช่องปาก อวัยวะเพศ ระบบทางเดินอาหาร หรือบนผิวหนังของคนเราในปริมาณน้อยและไม่ก่อให้เกิดโรค แต่เมื่อเชื้อราเหล่านี้มีปริมาณมากขึ้นจึงพัฒนาให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ เชื้อราที่ทำให้เกิดการติดเชื้ออาจเกิดได้จากหลายสายพันธ์ุ แต่สายพันธ์ุที่พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในช่องคลอดได้มากที่สุดมีชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งเป็นเชื้อราในกลุ่ม แคนดิดา (Candida) ส่วนเชื้อราสายพันธุ์อื่นที่พบได้ไม่บ่อยอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้มากขึ้น และต้องอาศัยการรักษาที่ซับซ้อนมากขึ้น

[อาการของโรค]

- เกิดอาการคันอย่างรุนแรงและระคายเคืองที่ปากช่องคลอดหรือภายในช่องคลอด

- มีอาการแสบร้อน โดยเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์หรือการปัสสาวะ

- ตกขาวผิดปกติ อาจมีลักษณะสีขาวข้นคล้ายนมบูด เป็นน้ำใส หรือขาวข้นจับตัวเป็นก้อน

- บริเวณปากช่องคลอดมีอาการบวม แดง

- เกิดผื่นแดงทั้งภายในและภายนอกช่องคลอด อาจเกิดการกระจายไปทั่วบริเวณหัวหน่าว อวัยวะเพศ หรือต้นขา

[วิธีป้องกัน]

- เลือกสวมใส่กระโปรง กางเกง หรือกางเกงชั้นที่ไม่รัดแน่นมากเกินไป รวมไปถึงเลือกเนื้อผ้าจากเส้นใยธรรมชาติที่มีการถ่ายเทของอากาศได้ดี ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความอับชื้นจนเพิ่มจำนวนเชื้อราขึ้นได้โดยง่าย

- ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มีความอับชื้นเป็นเวลานาน ควรรีบเปลี่ยนชุดออกทันที เช่น ชุดว่ายน้ำ ชุดออกกำลังกาย

- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นหรือการสวนล้างช่องคลอดบ่อยเกินความจำเป็น

- รับประทานอาหารประเภทโยเกิร์ตหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอื่น ๆ ที่มีส่วนผสมของแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งจะช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอด

- ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่มีความจำเป็น  

- ในช่วงมีประจำเดือนควรมีการเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผ้าอนามัยแบบสอด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอับชื้นที่เป็นที่อยู่ของเชื้อรามากขึ้น




แนะนำ




วาไรตี้


ท้องอืดพยากรณ์อากาศสาระน่ารู้บ้านพักคนชราบั้นปลายหลังเกษียณฤดูหนาวสุขภาพกรมอุตุนิยมวิทยาราคาปลายฝนต้นหนาวตดเหม็น

บิวตี้ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย สุขภาพ ดูดวง ความรัก วาไรตี้